รอ.............................

คิดแล้วทำ สำคัญกว่าทำแล้วคิด

วันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

โภชนาการ


บันทึกการประชุม เรื่อง โภชนาการกับมะเร็ง
วันที่  5 - 6 กันยายน  2556                สถานที่  สถาบันมะเร็งแห่งชาติ

          จากการประชุมทำให้ทราบถึงปัจจัยภายนอก และปัจจัยภายในที่เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็ง causes of cancer การตรวจคัดกรองภาวะทุพโภชนาการสำหรับผู้ป่วยมะเร็งว่าการ screening ต่างจาก assessment อย่างไร และการจัดตั้งทีมโภชนาบำบัด NST ที่ประกอบดัวย แพทย์ พยาบาล Dietitian Pharmacist นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งในการร่วมตรวจประเมินการติดตามการดูแลผู้ป่วยในระหว่าง admit ในส่วนของบทบาทนักกำหนดอาหารในการจัดการอาหารผู้ป่วยมะเร็ง ทำให้ทราบว่าอาหารในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งแบ่งเป็น
1.       Pt ที่กินไม่ได้ need Hight Protein เพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกัน
2.       Pt ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ กลุ่มที่มีเม็ดเลือดขาวต่ำ ต้องการ Neutropenio Diet
3.       Pt สามารถกินได้ เพิ่มพวกผัก ผลไม้ 5 สี ปลาที่มีโอเมก้า 3

การเลือกแหล่งอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระพวก    B แคโรทิน โพโตเอสโตเจน วิตามินซี อี selenium ว่าพบในอาหารผัก หรือผลไม้ ชนิดใดบ้าง ศึกษาจากแผ่นพับที่ได้รับในส่วนของการทำอย่างไรให้ห่างไกลมะเร็ง 5 ทำ 5 ไม่ ห่างไกลมะเร็ง

     ผู้บันทึก นายกัมปนาถ  แสนสุข       ตำแหน่ง นักโภชนาการ       หน่วยงาน โภชนศาสตร์
*************************************************************************************

องค์กรแพทย์


บันทึกการประชุม เรื่อง ข้อผิดพลาดในการสอนช่วยฟื้นคืนชีวิต ครั้งที่ 4
วันที่ 30 กรกฎาคม 2556                    สถานที่ โรงแรมปริ้นพาเลส  กรุงเทพมหานคร

          เนื่องจากการฝึกอบรมการช่วยฟื้นคืนชีวิต CPR สำหรับบุคลากรของโรงพยาบาลเป็นประจำเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อประสิทธิภาพการช่วยฟื้นคืนชีวิตผู้ป่วย และเป็นมาตรฐานคุณภาพของโรงพยาบาล โรงพยาบาลต่างๆ จึงจำเป็นต้องมีทีม CPR ของโรงพยาบาลเอง เพื่อให้การสอนและฝึกอบรม CPR แก่บุคลากรเป็นไปอย่างครบถ้วน การพัฒนาทีมจึงเป็นสิ่งจำเป็น จึงไปเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ เพื่อเรียนรู้และรับทราบข้อผิดพลาดในการสอน CPR เรียนรู้และฝึกทักษะที่ถูกต้อง และพัฒนาการสอนของตนเองให้ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

          จากการเข้าอบรม มีการตั้งคำถามเพื่อให้ผู้เรียนคิด และตอบคำถามของตนเองว่าได้สอนครบถ้วนและถูกต้องแค่ไหน มีการฝึกปฏิบัติสอน การสอนของผู้อื่นทำให้มองเห็นถึงข้อผิดพลาดที่พบบ่อยๆ และนำแนวทางที่ได้มาปรับใช้กับการสอนที่ทำอยู่ในปัจจุบัน และนอกจากนี้ยังมีชั่วโมงที่พูดเกี่ยวกับวิธีสอน และการเรียนซึ่งผู้อบรมไม่เคยเข้าอบรมก่อนทำให้รับความรู้ใหม่ๆ มาปรับใช้เมื่อตนเองต้องเป็นครูจำเป็นเช่นทุกวันนี้

    ผู้บันทึก นางวิภาวี  ศุกรเสพย์         ตำแหน่ง นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ       หน่วยงาน วิสัญญี
*******************************************************************************************

บันทึกการประชุม เรื่อง Exploratory Courses in Medical Education for Rookie Feacher 
วันที่ 29 กรกฎาคม – 2 สิงหาคม  2556             สถานที่ โรงแรมปริ้นพาเลส  กรุงเทพมหานคร

          วันแรกของการอบรม ได้เรียนรู้เกี่ยวกับหัวข้อ Teaching in classroom รับรู้เกี่ยวกับการแสดงออกบทบาทของอาจารย์และผู้เรียน แนวทางของหลักการสอนกว้างๆ จากผู้เชี่ยวชาญ ต่อด้วย Sleill feaching ชมวีดีทัสน์ แสดงการสอนกลุ่มย่อยของนักศึกษาแพทย์ชั้นคลินิก การเข้าถึงเนื้อหาการสอน การกระตุ้นให้ผู้เรียนฝึกค้นคว้าหาความรู้ การซักถามระหว่างกลุ่ม เช่น Buzz group วันที่ 2 (30 กรกฎาคม) ได้เรียนรู้ถึงการวางแผนการสอน การกำหนดวัตถุประสงค์แผนการสอนได้อย่างครอบคลุมตามหลักสูตร และเข้าถึงผู้เรียนและหลักการออกข้อสอบที่เป็นตัวชี้วัดของผู้เรียนทั้งในด้านพฤตพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย การออกข้อสอบตามวัตถุประสงค์ทั้งตัว MCQ MEQ CRQ ASQ วันที่ 3 (31 กรกฎาคม) ได้เรียนรู้ถึงบทบาทของอาจารย์แพทย์ ทั้งในด้านของการสอนบรรยาย การสอนภาคปฏิบัติ ทั้งในเรื่องของหัตถการและการสอนข้างเตียงผู้ป่วยทั้งในหอผู้ป่วยและผู้ป่วยนอก วันที่ 4 (1 สิงหาคม) ได้เรียนรู้ถึงการวิพากวิจารผู้เรียน อย่างถูกต้องและเหมาะสม แนวทางหารสอน Bedsiue teaching ให้เป็นไปตามแนวทางของหลักสูตร และผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจ สามารถนำไปประพฤติปฏิบัติต่อผู้ป่วยในฐานะแพทย์ได้ วันที่ 5 (2 สิงหาคม) ได้ทำ Workshop เรื่อง Work Based and performance assessment โดยการสมมติสถานการณ์ การสอนจริงในห้องเรียน และการออกแบบสื่อการสอนในหัวข้อ Instructional mutenal design

  ผู้บันทึก นายรณกฤต  ลิ้มวรากร      ตำแหน่ง นายแพทย์ปฏิบัติการ   หน่วยงาน องค์การแพทย์ กลุ่มงานอายุรกรรม
*******************************************************************************************
 
 

ระบบคุณภาพ


บันทึกการประชุม เรื่อง ระบบบริหารความเสี่ยงในโรงพยาบาลคุณภาพ
วันที่  14 - 16 สิงหาคม  2556             สถานที่  โรงแรมนารายณ์ กรุงเทพมหานคร

          การประชุมความเสี่ยงได้ให้ความสำคัญกับหัวใจของมาตรฐานแต่ละหมวด
มาตรฐานที่ 1  การประสานระบบเราต้องให้ความสำคัญกับนโยบาย ระบบสารสนเทศและให้ความสำคัญกับการผลักดันให้มีวัฒนธรรมความปลอดภัยเชื่อมโยงทุกระบบ
มาตรฐานที่ 2  ความสามารถในการค้นหา เน้นที่ความครอบคลุมของปัญหาและการจัดลำดับความสำคัญ เพื่อจะได้นำปัญหาที่รุ่นแรงมาแก้ไขปัญหาก่อน
มาตรฐานที่ 3  การกำหนดมาตรฐานการป้องกัน เน้นการวางมาตรฐานการป้องกันโดยใช้แนวคิด HFE ที่คนหน้างานทำได้ ใช้การตัดสินในปัญหา เฉพาะหน้าให้น้อยที่สุด
มาตรฐานที่ 4  ระบบรายงานอุบัติการณ์ เน้นการวางระบบให้มีระบบรายงายอุบัติการณ์ให้สะดวก ง่ายต่อการรวบรวมข้อมูล เพื่อนำข้อมูลนั้นมาวิเคราะห์เนื้อหาแนวทางการแก้ไขต่อไป
มาตรฐานที่ 5 การวิเคราะห์สาเหตุ เน้นการวิเคราะห์สาเหตุที่เป็นรากเหง้าปัญหาจริงๆ และถ้าจะให้ดี ถ้ามีการวิเคราะห์สาเหตุ เพื่อการป้องกันไว้ล่วงหน้า
มาตรฐานที่ 6  การวิเคราะห์ระบบ ควรวิเคราะห์ระบบที่วางไว้ในแต่ละระบบและอาจดูในส่วนของผลการดำเนินงานในภาพรวมด้วย
   ผู้บันทึก นางสายใจ  นกหนู       ตำแหน่ง นักกายภาพบำบัดชำนาญการพิเศษ      หน่วยงาน กายภาพบำบัด
*************************************************************************************************

งานบริหารจัดการ


บันทึกการประชุม เรื่อง การจัดการมูลฝอยติดเชื้อในสถานบริการสาธารณสุขในเขตภาคใต้
วันที่ 3 กันยายน  2556            สถานที่ ศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา

1.       ผู้ปฏิบัติงานที่ทำหน้าที่เคลื่อนย้าย และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อต้องได้รับการอบรมหลักสูตรการป้องกันและระงับการแพร่เชื้อ
2.       การเก็บมูลฝอยติดเชื้อประเภทวัสดุมีคม มีลักษณะเป็นกล่องหรือถัง ที่ทำด้วยวัสดุแข็งแรงทนทานต่อการแทงทะลุและการกัดกร่อนของสารเคมี
3.       ภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อประเภทวัสดุไม่มีคม มีลักษณะถุงแดงทึบแสงทำจากพลาสติก ที่มีความเหนียวไม่ฉีกขาดง่าย รับน้ำหนักกันน้ำได้ ไม่รั่วซึม และไม่ดูดซึม
4.       ภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ มีข้อความสีดำขนาดที่สามารถอ่านได้ชัดเจนโดยเขียนข้อความมูลฝอยติดเชื้อห้ามเปิด ห้ามนำกลับมาใช้อีก และรูปหัวกะโหลกโชว์ คู่กับตราสัญลักษณ์ที่ใช้ระหว่างประเทศดังภาพพิมพ์ไว้บนภาชนะ
5.       การกำจัดมูลฝอยติดเชื้อโดยเผาในเตาเผาชนิด 2 ห้องเผาที่สามารถควบคุมอุณหภูมิในห้องเผามูลฝอย และห้องเผาควันให้อยู่ไม่ต่ำกว่า 760 และ 1000 องศา

 ผู้บันทึก นางสาวสุทธิรัตน์  เทพกำเนิด      ตำแหน่ง เจ้าพนักงานธุรการหน่วยงาน กลุ่มงานบริหารทั่วไป
*******************************************************************************************งานบริหารจัดการ

เทคโนโลยีสารสนเทศ


บันทึกการประชุม เรื่อง สรุปผลการดำเนินการพัฒนาและปรับปรุงระบบบริหาร

วันที่  16 สิงหาคม  2556                    สถานที่  โรงแรมเอเชีย กรุงเทพมหานคร

          การประชุมครั้งนี้เกี่ยวกับโปรแกรมของกระทรวงสาธารณสุข เป็นโปรแกรมเกี่ยวกับระบบนัดหมายออนไลน์ และโปรแกรมจับเวลาเพื่อดูระยะเวลาที่คนไข้เสียไปในการตรวจรักษา มีชื่อว่า ระบบ APS online เนื่องด้วยทางกระทรวงสาธารณสุขเห็นถึงปัญหาความแออัดในโรงพยาบาลและการที่ประชาชนต้องคอยมารับบัตรนัดเพื่อเข้าตรวจรักษาโรคตั้งแต่โรงพยาบาลยังไม่เปิดทำการ จึงทำให้เกิดระบบนี้ขึ้น นอกจากนี้ กระทรวงสาธารณสุขยังมีนโยบายปรับปรุงระบบบริการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยการเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้แสดงความคิดเห็นและบอกเล่าถึงปัญหาที่พบภายในหน่วยงานของตนเอง และทางกระทรวงยังมีนโยบายจะปรับปรุงระบบบริการโดยให้มีเทคโนโลยีสารสนเทศบน web Application โดยมีฐานข้อมูลอยู่ที่กระทรวงสาธารณสุข เพื่อง่ายต่อการที่กระทรวงได้เห็นความเคลื่อนไหวของข้อมูลของหน่วยงานทั่วประเทศ
     ผู้บันทึก นางสาวมารีสา  ศาสน์สันติกุล        ตำแหน่ง นักวิชาการคอมพิวเตอร์       หน่วยงาน IT
*****************************************************************

วันเสาร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

การเงิน


บันทึกการประชุม เรื่อง โครงการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารการเงินการคลัง เครือข่ายบริการที่ 12
วันที่ 28 – 29  พฤษภาคม  2556           สถานที่ โรงแรมลีการ์เด้น พลาซ่า สงขลา

          คณะตรวจราชการและนิเทศงาน เครือข่ายบริการที่ 12 ชี้แจงแนวทางการควบคุม กำกับ ติดตาม ประสิทธิภาพการบริหารการเงินการคลังในระดับเขต พบว่าในปีงบประมาณ 2555 มีโรงพยาบาลที่ประสบปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงินอยู่ในภาวะวิกฤตระดับ 7 ดังนั้นการรับทราบข้อมูลการเงินการคลัง ต้นทุนค่าใช้จ่าย ต้นทุนให้บริการ และการจัดทำแผน 3 แผน สรุปได้ดังนี้ แผนรายรับรายจ่ายเงินบำรุง แผนจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ แผนการจัดหางบลงทุน ซึ่งจากการตรวจสอบผลการส่งรายงานผ่านเว็บต้นทุนของกลุ่มงานประกันสถานการส่งรายงานแผน 3 แผนยังไม่ครบถ้วน และยังมีโรงพยาบาลที่วิกฤตเรื้อรัง และโรงพยาบาลที่วิกฤตในไตรมาส 3/2555 ในเครือข่ายบริการที่ 12

          การบริหารการเงินการคลังเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้โรงพยาบาลประสบสภาวะวิกฤตได้ ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญในการบริหารการเงินภายในโรงพยาบาล เพื่อให้สถานะทางการเงินของโรงพยาบาลมีเสถียรภาพ ตัวชี้วัดสำคัญการบริหารการเงินการคลัง มี 3 ระดับ คือ ตัวชี้วัดระดับกระทรวง ตัวชี้วัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ตัวชี้วัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ตัวชี้วัด FAI ของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ผลการประเมินระดับความสำเร็จการบริหารการเงินการคลัง FAI ไตรมาส 2/2556 ของเครือข่ายที่ 12 คะแนนเฉลี่ย 81.12 (1 จังหวัด)

          การพัฒนาประสิทธิภาพทางการบริหารการเงินการคลัง มีเป้าหมายเพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ สร้างประสิทธิภาพในการบริหาร และความมั่นคงของหน่วยบริการสุขภาพ การควบคุม กำกับแผน 3 แผน แผนรายรับรายจ่ายเงินบำรุง ไม่ตั้งแผนขาดดุล มีการควบคุม กำกับ ติดตามทั้งด้านรายรับรายจ่าย เป็นรายไตรมาส/รายเดือน แผนการจัดซื้อยาเวชภัณฑ์ ลดค่าใช้จ่ายด้านยา เวชภัณฑ์ ลงไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 แผนการจัดงบลงทุน ประเมินความคุ้มค่าในการลงทุน

          คณะผู้ตรวจแจ้ง จะเข้าตรวจให้เตรียมข้อมูลและแบบประเมินตนเองของหน่วยงานบริการเพื่อรองรับการตรวจราชการและนิเทศงานกรณีปกติ รอบที่ 2/2556 ทำให้มีความเข้าใจและสามารถ ควบคุม กำกับ ติดตาม ประสิทธิภาพการบริหารการเงินการคลัง ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน รับรู้ข้อมูลการเงินการคลัง

  ผู้บันทึก นางสาวเบญจมาศ   คุณสุทธิ์     ตำแหน่ง นักวิชาการเงินและบัญชี      หน่วยงาน ฝ่ายการเงินและบัญชี
*******************************************************************************************
 
บันทึกการประชุม เรื่อง โครงการจ่ายตรง เงินเดือนและค่าจ้างประจำ
วันที่ 2 – 6 กันยายน  2556                สถานที่ มหาวิทยาลัยเทคโนดลยีราชมงคลศรีวิชัย

          โครงการจ่ายตรงเงินเดือนและค่าจ้างประจำ เป็นข้อตกลงที่กระทรวงสาธารณสุขได้ทำกับกรมบัญชีกลาง โดยจะเริ่มทำในวันที่ 1 มกราคม 2557 สาระสำคัญที่อบรมเป็นการสอนการบันทึกข้อมูลของงานบุคลากรการพัฒนาต่างๆ และจะต้องจัดส่งข้อมูลต่างๆ ให้กรมบัญชีกลางภายในวันที่ 12 ของทุกเดือน เมื่อการดำเนินการเป็นไปตามข้อตกลงข้าราชการและลูกจ้างประจำจะได้รับเงิน 3 วันทำการก่อนสิ้นเดือน

          ส่วนการดำเนินการของแผนกการเงิน และงานบุคลากรจะมีการวางแผนในการจัดส่งข้อมูลโดยกำหนดวัน และใครเป็นผู้รับผิดชอบในเรื่องอะไร จะได้จัดทำคำสั่งต่อไป

 ผู้บันทึก นายสุนทร  มลิพันธ์    ตำแหน่ง เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีชำนาญการ  หน่วยงาน ฝ่ายการเงินและบัญชี
*****************************************************************************************

วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

เภสัชกรรม

บันทึกการประชุม เรื่อง การบริหารยาเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย
วันที่ 1 – 2 สิงหาคม 2556        สถานที่ ห้องประชุมตะกั่วป่า โรงแรมหรรษา เจ บี หาดใหญ่
          การวางระบบเป็นสิ่งสำคัญของหน่วยงานต่างๆ ระบบที่ดีจะนำไปสู่การทำงานที่รวดเร็ว ปลอดภัย ในที่นี้กล่าวถึงระบบยา คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัดมีบทบาทในการกำหนดแนวทางต่างๆ โดยมีระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศเป็นตัวช่วย ยกตัวอย่างให้มองเห็นภาพว่า เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยไม่ได้อยู่ที่วิชาชีพอย่างเดียวแต่ต้องอาศัยสหวิชาชีพ แสดงตัวอย่างให้เห็นถึงความคลาดเคลื่อนทางยา และการป้องกันการเกิดความคลาดเคลื่อนในการใช้ยาและการเขียนคำสั่งใช้ยาที่ดี เน้นเรื่องความเข้าใจตรงกันไม่ได้และความคงตัวหลังผสม เภสัชกรจะต้องเข้ามามีบทบาทเพื่อประกันความคลาดเคลื่อนในหัวข้อนี้ นอกจากนี้การคำนวณอัตราเร็วของยาฉีด /หยดยาฉีดต่อผู้ป่วยก็มีผลต่อการเกิด Admintration error เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ Adverse Drug Event ก็มีความสำคัญ และเภสัชกรมีส่วนในการช่วยวางระบบเพื่อป้องกันการเกิดการแพ้ยาซ้ำได้ นอกจากนี้การนำ Trigger tool มาใช้ประโยชน์ในการค้นหา ADE ก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน
          สรุปรวมแล้วทุกๆ หน่วยงานย่อมมีโอกาสทำงานได้ผิดพลาด แต่เมื่อเข้าใจความผิดพลาดได้จากการจดบันทึกหลังนำมาวิเคราะห์ สรุป หาทางแก้ไข ไม่ให้เกิดอีก ก็จะเกิดความปลอดภัย แก่ผู้ป่วยได้
              ผู้บันทึก นางสาวชื่นสุมน  ลาภชิตาภรณ์ ตำแหน่ง เภสัชกรปฏิบัติการ  หน่วยงาน เภสัชกรรม
************************************************************************************************************************

บันทึกการประชุม เรื่อง เภสัชบำบัดในผู้ป่วยโรคไต (Pharmacotherapy of Kidney Disease)

วันที่ 22 – 23 สิงหาคม 2556     สถานที่ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

          ไตเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญโดยมีมีหน้าที่หลักในการขับของเสียและสารพิษ การควบคุมปริมาตรของของเหลวในร่างกาย และการควบคุมความดันโลหิต การควบคุมความเข้มข้นของสารและธาตุต่างๆ ในร่างกาย บทบาทที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมน ดังนั้นหากไตมีความผิดปกติไปจึงส่งผลต่ออวัยวะต่างๆ ของร่างกายด้วย โดยการคำนวณอัตราการกรองของผนังโกลเมอรุรัส ใช้เป็นตัววัดความสามารถในการกรองของไต แต่ในปัจจุบันนิยมคำนวณอัตราการกำจัดของ creatinine Crcl ซึ่งใช้ความเข้มข้นของ creatinine ในเลือดเพื่อใช้เป็นค่าแทน GFR ภาวะไตสูญเสียการทำงานอย่างต่อเนื่องจนกระทั้งถึงจุดที่ไตทำงานล้มเหลว (Acute Kidney injury AKI) เป็นการทำงานของไตลดลงอย่างรวดเร็ว (ภายใน 48 ชม) ก่อนรักษาต้องหาสาเหตุของภาวะ AKI ซึ่งอาจมีผลมาจากยาจึงต้องทำการปรับขนาดและความถี่ในการให้ยาตาม Stage ความรุนแรงของ AKI และหลีกเลี่ยงการใช้ยาที่เป็น Drug-induced nephrotcxicty และป้องกันการเกิด Chonic Kidney disease ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ไตเรื้อรัง คือ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือดหัวใจ ในผู้ป่วนไตเรื้อรัง ดังนั้นการจัดการภาวะน้ำตาลในเลือดสูง และความดันโลหิตสูงจึงเป็นสิ่งสำคัญ คือ BP<130/80 mmHg ทั้ง Pt ที่มีอัลบุมินออกมามากหรือน้อยในปัสสาวะ (KDIGO guidelines) และ HBA1c ประมาณ 7.0% การกำหนดให้มีค่า HbA1c น้อยกว่า 7.0% อาจเป็นผลเสีย เนื่องจากผู้ป่วยมีโอกาสเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้สูงกว่าคนไข้เบาหวานทั่วไป ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังยังมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ภาวะโลหิตจาง ความผิดปกติของสมดุลแคลเซียม ฟอสฟอรัส ความผิดปกติของกระดูก และภาวะความไม่สมดุลของเกลือแร่ต่างๆ ในร่างกาย
       ผู้บันทึก นางสาวชนกสุดา  เหลือมปุ๋ย        ตำแหน่ง เภสัชกรปฏิบัติการ        หน่วยงาน เภสัชกรรม
********************************************************************************************

บันทึกการประชุม เรื่อง การให้คำปรึกษาระบบยา ครั้งที่ 2/2556
วันที่ 11 – 13 กันยายน 2556    สถานที่ โรงแรมวินเซอร์ สวีทส์ กรุงเทพมหานคร
          ระบบยาเป็นงานของสหสาขาวิชาชีพ ซึ่งมีเภสัชกรเป็นเจ้าภาพใหญ่ ดังนั้นเภสัชกรจะต้องประสานงานเก่ง ซึ่งการตั้งเป้าหมายเพื่อพัฒนางานที่อิงตามมาตรฐานจะต้องรู้จักตัวเอง รู้ความต้องการสำคัญของลูกค้า และรู้เป้าหมายของมาตรฐาน เมื่อมีการวางระบบงานต่างๆ สิ่งที่ผู้เยี่ยมสำรวจพบ มักจะไม่ได้ติดตามดูว่าผู้ปฏิบัติงานได้ทำตามระบบที่วางไว้หรือไม่ ถ้าไม่ปัญหาอยู่ที่ตรงไหน อย่าโทษแต่เพียงว่าผู้ปฏิบัติงานไม่ตระหนัก ไม่ปฏิบัติตามระบบที่วางไว้ และอีกหนึ่งหลุมพรางคือ ขาดความเชื่อมโยงของข้อมูล เช่น ปัญหาที่พบในการให้คำแนะนำปรึกษาด้านยาของเภสัชกร ไม่ได้นำมาบันทึกอยู่ในระบบความคลาดเคลื่อนทางยา ทำให้รายงานต่ำกว่าความเป็นจริง และอาจจะทำให้ไม่ได้แก้ปัญหาร่วมกันในเชิงระบบหลายๆ ครั้ง หลายๆ โรงพยาบาล เภสัชกรทำงานเก็บข้อมูลแต่ไม่ได้นำข้อมูลมาเสนอต่อสหวิชาชีพ เพื่อให้ร่วมช่วยแก้ปัญหา
            ผู้บันทึก นางอุมาภรณ์  สีสวนแก้ว       ตำแหน่ง เภสัชกรชำนาญการ        หน่วยงาน เภสัชกรรม
***********************************************************************

กายภาพบำบัด

บันทึกการประชุม เรื่อง การอบรมประกาศนียบัตรครูโยคะเพื่อสุขภาพ
วันที่  17 - 18 สิงหาคม  2556             สถานที่  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
          การอบรมประกาศนียบัตรครั้งนี้ ข้าพเจ้าและผู้เข้าร่วมอบรมได้เรียนรู้ถึงวิถีของโยคะและประวัติความเป็นมาของโยคะในประเทศไทย บรรยายโดยท่านอาจารย์ฮิโรชิ ไฮกาตะ ผู้เชี่ยวชาญโยคะจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งอาจารย์ถือเป็นผู้ริเริ่มวิชาโยคะคนแรกๆ ของเมืองไทย นอกจากนี้ข้าพเจ้าและผู้เข้าร่วมอบรมยังได้ร่วมฝึกปฏิบัติโยคะอาสนะเบื้องต้น ซึ่งสามารถนำประสบการณ์ดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ในหน่วยงานเพื่อการส่งเสริมสุขภาพได้อีกด้วย
          การฝึกอบรมครั้งนี้ ได้มีการแบ่งกลุ่มจัดทำโครงการโยคะเพื่อสุขภาพและมีการนำผลการจัดทำโครงการมานำเสนอเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ร่วมกัน ซึ่งถือเป็นการประเมินผู้เข้าร่วมอบรมแต่ละคนว่ามีความเข้าใจในโยคะมากน้อยเพียงใด สามารถนำความรู้จากการฝึกอบรมไปประยุกต์ใช้ได้อย่างไรบ้าง ประสบการณ์ดังกล่าวทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกมีความพร้อมที่จะนำศาสตร์ของโยคะไปเผยแพร่ให้เกิดประโยชน์ได้มากขึ้น 
        ผู้บันทึก นายสิรภัทร  สอและ    ตำแหน่ง นักกายภาพบำบัด  หน่วยงาน กายภาพบำบัด
*****************************************************************************************************************

บันทึกการประชุม เรื่อง เตรียมความพร้อมการจัดประชุมพัฒนาศักยภาพบริหารงานกายภาพบำบัด
วันที่  11 กันยายน  2556                   สถานที่  สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

          ที่ประชุมได้ให้หัวหน้างานเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อม เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงต่อแนวโน้มการพัฒนา เช่น  เรื่อง การพัฒนางานกายภาพบำบัดตาม Service Plan ซึ่งจะต้องเตรียมนักกายภาพบำบัดให้มีการพัฒนาคน พัฒนาความรู้เฉพาะทาง เพื่อให้สามารถให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
          ปัญหาในการปฏิบัติงานของนักกายภาพบำบัด
นักกายภาพบำบัดยังประสบปัญหาในการปฏิบัติงาน ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติงานให้ได้ตามมาตรฐานได้อย่างมีความสุข ซึ่งได้เสนอความเห็นต่อสภากายภาพบำบัดให้หาแนวทางช่วยเหลือ เพื่อให้นักกายภาพบำบัดสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีคุณภาพและมีความสุข ปัญหาที่มากที่สุดคือการไม่สามารถจัดตั้งกลุ่มงานกายภาพบำบัดได้ที่ที่หน่วยงานมีความพร้อม ซึ่งที่ประชุมก็ได้พยายามให้หัวหน้างานได้ชี้แจงให้ผู้บริหารเข้าใจ ว่าการจัดตั้งกลุ่มงานกายภาพบำบัดเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด ที่จะทำให้งานบริการกายภาพบำบัดพัฒนาสู่มาตรฐานสากล ที่มีทั้งคุณภาพและความสุขในการปฏิบัติงาน บนพื้นฐานของความเข้าใจและให้เกียรติกันในระหว่างวิชาชีพ ประโยชน์ทั้งหลายก็จะเกิดกับผู้รับบริการและประชาชนชาวไทย

 ผู้บันทึก นางสายใจ  นกหนู    ตำแหน่ง นักกายภาพบำบัดชำนาญการพิเศษ      หน่วยงาน กายภาพบำบัด
***************************************************************
 

การพยาบาล





บันทึกการประชุม เรื่อง การประชุมวิชาการสูติ-นรีเวช ส่วนภูมิภาค ครั้งที่ 4
วันที่
 11 - 12 กรกฎาคม  2556            สถานที่  โรงแรมบีพีแกรนด์ ทาวเวอร์ หาดใหญ่ สงขลา


          จัดประชุมโดยราชวิทยาลัยสูติแพทย์แห่งประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มพูนทักษะ ความรู้ และทักษะงานด้านอนามัยแม่และเด็ก ได้รับความรู้ทั้งด้านวิชาการการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทำให้ทราบอันตรายและสาเหตุการตายของมารดาในเขต 12 ผู้เข้าร่วมประชุมเป็น สูติแพทย์ พยาบาล ในเขต 12 จำนวน 200 คน

          เนื้อหาที่ได้จาการประชุมที่สามารนำมาใช้ในการปฏิบัติงาน คือการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ เช่น ภาวะครรภ์เป็นพิษ อาการของโรคหัวใจในหญิงตั้งครรภ์ การตรวจและซักประวัติตั้งแต่มาฝากครรภ์ และที่สำคัญคือการดูแล Post Partum Hemorrhage ให้ปลอดภัยจากภาวะช็อค ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของมารดาหลังคลอด อาจารย์ได้แนะนำวิธีการป้องกัน คือเริ่มให้ความรู้ในการปฏิบัติตัวแก่มารดาตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ การเฝ้าระวังขณะคลอด วิธีการวัดปริมาณเลือดที่ออกหลังคลอด โดยใช้ถุงปลาสติที่มีสแกล ถ้วยตวง พร้อมทั้งให้ดูวิดีโอ การวัดปริมาณเลือดของต่างประเทศ ไม่ควรกะปริมาณเลือดด้วยตา เพราะอาจผิดพลาด ทำให้เฝ้าระวังไม่พอช่วยเหลือไม่ทัน การบริหารยาหลังคลอด มีความสำคัญมากเพราะถ้าบริหารยาผิดพลาดอาจเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยได้ ประทับใจข้อเสนอแนะจากอาจารย์ ในการรายงานแพทย์ เมื่อเกิด PPH = SBAR

          Situation = เกิดอะไรขึ้น เช่น TBL 500 cc….
          Background = เหตุการณ์ที่นำมาสู่สถานการณ์ปัจจุบัน เช่น ผู้ป่วยหลังคลอด หลัง C/S.. เวลา
          Assessment = สรุปปัญหา  อาการ  V/S

          Recommendation = ข้อเสนอแนะ และควรพูด กรุณามาดูด้วย
การ
Conference Case จากโรงพยาบาลต่างๆ 3 เรื่อง โดยสูติแพทย์น่าสนใจมาก และชื่นชมที่เจ้าของ Case
นำมาเป็นตัวอย่างเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ในการดูแลผู้ป่วยรายอื่นๆ
         
พุทธพจน์ในการปฏิบัติงาน เมื่อรักษาตนคือรักษาผู้อื่น เมื่อรักษาผู้อื่นคือรักษาตน
                                                        
     ผู้บันทึก นางณัฐพร  พลายด้วง      ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ          กลุ่มการพยาบาล **********************************************************************

บันทึกการประชุม เรื่อง ติดตามผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์พัฒนาคุณภาพการพยาบาลมารดาและทารก             เขตพื้นที่เครือข่ายบริการที่ 12
 วันที่  16 กรกฎาคม  2556       สถานที่  โรงแรมหาดใหญ่ สงขลา        
             สืบเนื่องจากแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติในช่วงพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 พ.ศ.2555-2559 และนโยบายของสำนักงานสาธารณสุข เขต 12 ได้มุ่งเน้นการสร้างระบบภูมิคุ้มกันเอดส์และกระทบจากโรค และภัยคุกคามสุขภาพ และนโยบายการเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดระบบบริการรักษาพยาบาลและคุณภาพของการให้บริการสุขภาพ การเพิ่มศักยภาพบริการสุขภาพ กลุ่มมารดา ทารก จึงมีความสำคัญ และจำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากปัญหาสุขภาพของประชาชน กลุ่มมารดา และทารก ยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ ทั้งนี้เพื่อให้กลุ่มมารดา ทารก สามารถเข้าถึงบริการรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพที่ดีที่สุด ตามเกณฑ์มาตรฐานอย่างเท่าเทียมกัน

          ด้วยเหตุนี้ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมให้เกิดการประสานความร่วมมือจากพยาบาลผู้รับผิดชอบงานฝากครรภ์ ห้องคลอด และงานบริการพยาบาลมารดาและทารก ทุกแห่งใน 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง เพื่อคิดค้น สร้างปรับเปลี่ยนเทคโนโลยี พัฒนาคุณภาพ ระบบ และการบริการพยาบาลที่มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับสถานการณ์ของพื้นที่ ครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันภาวะแทรกซ้อน การดูแลช่วยเหลือการคลอด และหลังคลอด ถึงจำหน่าย และการส่งต่อหรือการดูแลต่อเนื่อง สอดคล้องกับนโยบายสำนักงานสาธารณสุข เขต 12 และแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ
          จึงได้ร่วมกันวิเคราะห์ ปัญหา สาเหตุ ความต้องการพัฒนาและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานบริการพยาบาลมารดาและทารก นำมากำหนดระบบ แนวทาง และกลวิธีการดำเนินงานโดยจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการพยาบาลระดับเขต ปี 2557-2559

          ผลที่ได้รับและสามารถนำมาใช้ประโยชน์ นำแผนมาพัฒนาคุณภาพการพยาบาลระดับเขต ปี 2557-2560 ลงสู่งานอนามัยแม่และเด็กระดับจังหวัดเพื่อนำไปปฏิบัติต่อไป
ผู้บันทึก นางรัชนี  เดี่ยวพานิช   ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ    กลุ่มการพยาบาล

*******************************************************************************************

บันทึกการประชุม เรื่อง การดูแลต่อเนื่องสำหรับผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง / บาดเจ็บไขสันหลัง

วันที่  17 19 กรกฎาคม  2556           สถานที่  คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
          จากการเข้าร่วมอบรมดูแลต่อเนื่องผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง/บาดเจ็บไขสันหลัง โดยเนื้อหาการประชุม เน้นการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง เมื่อผู้ป่วยกลับบ้าน แต่ก็ยังเน้นเนื้อหาในการดูแลผู้ป่วยตั้งแต่แรกรับ ได้แก่ การประเมินสภาพผู้ป่วย การรักษาและการให้ความสำคัญในการทำ Dischange planning เพราะผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าว จะมีพยาธิสภาพของโรค ทำให้ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองได้น้อยลงหรือไม่ได้เลย ดังนั้นหากทำการประเมินผู้ป่วยก่อนจะสามรถเตรียมพร้อมก่อนผู้ป่วยกลับบ้าน และในการประชุม จะมีทั้งภาคทฤษฎีในการดูแล-ฟื้นฟูสภาพ  ทั้งการฝึกการนิ่ง นอน การเดิน การเคลื่อนย้ายที่ถูกต้องโดยการแนะนำจากนักกายภาพบำบัด การฝึกการพูด การสวมใส่เสื้อผ้า การรับประทานอาหาร และการดูแลสภาพผู้ป่วยและดูแลเกี่ยวกับจิตใจ จากนักจิตวิทยา ซึ่งการฝึกดังกล่าวจะเน้นให้ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองให้มากที่สุด เพราะจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า และไม่เป็นภาระผู้อื่น

          เนื่องจากสถานที่และผู้อบรมเป็นคณะแพทยศาสตร์ ทำให้มีเจ้าหน้าที่ครบทุกสหวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าว แต่ในการปฏิบัติจริงที่ รพ.นราธิวาสราชนครินทร์ทาง รพ.ยังไม่มีสหวิชาชีพครบทุกด้าน และยังไม่มีการตั้งเป็นสหวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าว ทำให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลฟื้นฟูไม่ครบทุกด้าน ซึ่งทาง รพ.ควรจะจัดตั้งสหวิชาชีพในการดูแลผุ้ป่วยต่อไป

 ผู้บันทึก ธนากร  แชลีมา  ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ กลุ่มการพยาบาล ตึกศัลยกรรมกระดูกชาย
************************************************************************

บันทึกการประชุม เรื่อง โครงการสร้างเครือข่ายสมาชิกสภาการพยาบาลประจำปี 2556
วันที่  25 กรกฎาคม  2556       สถานที่  โรงแรมสมิหลาบีช รีสอร์ท สงขลา
         
           เรื่องที่อบรมเป็นเรื่องเกี่ยวกับกฎหมายน่ารู้สำหรับพยาบาลผู้บรรยาย คือ อัยการนิธิภัททิก์  เสฎฐิตานันท์ และกรณีศึกษาด้านกฎหมายและจริยธรรม ผู้บรรยายคือ อาจารย์ประภัสสร  พงศ์พันธุ์พิศาล ที่ปรึกษาด้านกฎหมายสภาการพยาบาล มีหัวข้อกฎหมายที่น่าสนใจจำนวนมาก แต่ที่จะนำมากล่าวในที่นี้ ขอเลือกเรื่องที่เกิดเหตุในโรงพยาบาลให้เห็นอยู่บ้าง ทั้งนี้เพื่อจะได้เป็นการเตือนสติให้พยาบาลทุกคนมีสติในการปฏิบัติงานแม้ว่าประชาชนทุกคนจะไม่มีความรู้ด้านกฎหมายแต่โลกปัจจุบัน IT สามารถช่วยให้เข้าถึงได้ง่าย โอกาสเสี่ยงของผู้ปฏิบัติงานกับปัญหาการร้องเรียนในเรื่องต่างๆ ไม่ใช่เรื่องยาก กฎหมายที่จะนำมาเล่าให้ทราบเรื่องแรกคือ การปฏิเสธการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ กรณีตัวอย่างผู้ป่วยได้รับอุบัติเหตุอยู่ในภาวะอันตราย ญาติได้นำส่งโรงพยาบาลแห่งหนึ่งซึ่งอยู่ใกล้ที่เกิดเหตุ แต่เนื่องจากโรงพยาบาลแห่งนั้น ไม่มีเตียงว่าง พยาบาลที่อยู่เวรจึงปฏิเสธการช่วยเหลือ กรณีเช่นนี้ย่อมกระทำไม่ได้ พยาบาลปฏิเสธความช่วยเหลือผู้ป่วยเช่นนั้นไม่ได้ และการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 374 ผู้ใดเห็นผู้อื่นตกอยู่ในภยันตรายแห่งชีวิต ซึ่งตนอาจช่วยได้โดยไม่ควรกลัวอันตรายแก่ตนเองหรือผู้อื่น แต่ไม่ช่วยตามความจำเป็น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ปอ.ม307 และ ม.308 ม.307 ผู้ใดมีหน้าที่ตามกฎหมายหรือสัญญาต้องดูแลผู้พึ่งตนเองมิได้เพราะอายุ ความเจ็บป่วย กายพิการ หรือจิตพิการ ทอดทิ้งผู้พึ่งตนเองมิได้นั้นเสียโดยประการที่น่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปีหรือปรับไม่เกิน 6000 บาท ปรือทั้งจำทั้งปรับ ม.308 ถ้ากระทำตาม ม.306 หรือ ม.307 เป็นเหตุให้ผู้ถูกทอดทิ้งถึงแก่ความตาย หรือรับอันตรายสาหัสต้องระวางโทษตาม ม.209 ม.297 หรือ ม.298 กรณีตัวอย่าง
-          ผู้ป่วยหลบหนีจากโรงพยาบาลแล้วเกิดอันตรายขึ้นกับผู้ป่วยขณะหลบหนี
-          การละทิ้งเวรยามของพยาบาล
-          การขาดการเอาใจใส่ดูแลผู้ป่วยตามหน้าที่ 

  ผู้บันทึก นางวันเพ็ญ  แก้วพรหมลัด  ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ   หน่วยงาน กลุ่มการพยาบาล
********************************************************************************************

บันทึกการประชุม เรื่อง การพยาบาลผู้ใหญ่โรคระบบหายใจ
วันที่  17 สิงหาคม  2556                    สถานที่  สถาบันโรคทรวงอก

           ในการให้การรักษาพยาบาลสิ่งแรกที่ควรทำเป็นอันดับแรก คือการประเมินผู้ป่วยตั้งแต่แรกรับ สิ่งที่ผู้ป่วยต้องการ ตลอดระยะเวลาผู้ป่วยได้รับการรักษาในโรงพยาบาลระหว่างนั้นควรทำการวางแผนจำหน่ายและเตรียมความพร้อมแก่ผู้ป่วยก่อนกลับบ้าน เพื่อผู้ป่วยจะได้ดูแลตนเองอย่างถูกต้องทั้งเพื่อลดจำนวนวันนอน ลดอัตราการครองเตียง และลดค่าใช้จ่ายในส่วนของกระบวนการดูแลผู้ป่วยต้องเป็นดูแลแลมีส่วนร่วมระหว่างสหวิชาชีพต่างๆ
          การตรวจร่างกายผู้ป่วยเพื่อวินิจฉัยโรคนั้นจำเป็นต้องมี 5 อย่าง
1.       การซักประวัติ
2.       การตรวจรักษา
3.       EKG
4.       Lab test
การตรวจร่างกายระบบทรวงอกต้องเริ่มตั้งแต่ดู คลำ เคาะ ฟัง ส่วนหัวใจจะดู คลำ ฟัง จะไม่นิยมเคาะ เพื่อหาขอบเขตของหัวใจ แต่จะใช้การเอกเรย์แทน การตรวจร่างกายผู้ป่วยมีความจำเป็นต่อการรักษา เพื่อจะได้วินิจฉัยโรคได้ถูก และทำการรักษาได้ตรงตามอาหารที่เป็น หรือขณะที่ผู้ป่วย Admit จะทำการตรวจการหายใจ โดยการฟัง ถ้าพบสิ่งผิดปกติจะได้รายงานให้แพทย์ทราบ และทำการรักษาให้ทันท่วงที
                
 ผู้บันทึก นางสาวนาเดีย  บือราเฮง        ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ       RCU กลุ่มการพยาบาล
***************************************************************************