รอ.............................

คิดแล้วทำ สำคัญกว่าทำแล้วคิด

วันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

องค์กรแพทย์


บันทึกการประชุม เรื่อง ข้อผิดพลาดในการสอนช่วยฟื้นคืนชีวิต ครั้งที่ 4
วันที่ 30 กรกฎาคม 2556                    สถานที่ โรงแรมปริ้นพาเลส  กรุงเทพมหานคร

          เนื่องจากการฝึกอบรมการช่วยฟื้นคืนชีวิต CPR สำหรับบุคลากรของโรงพยาบาลเป็นประจำเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อประสิทธิภาพการช่วยฟื้นคืนชีวิตผู้ป่วย และเป็นมาตรฐานคุณภาพของโรงพยาบาล โรงพยาบาลต่างๆ จึงจำเป็นต้องมีทีม CPR ของโรงพยาบาลเอง เพื่อให้การสอนและฝึกอบรม CPR แก่บุคลากรเป็นไปอย่างครบถ้วน การพัฒนาทีมจึงเป็นสิ่งจำเป็น จึงไปเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ เพื่อเรียนรู้และรับทราบข้อผิดพลาดในการสอน CPR เรียนรู้และฝึกทักษะที่ถูกต้อง และพัฒนาการสอนของตนเองให้ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

          จากการเข้าอบรม มีการตั้งคำถามเพื่อให้ผู้เรียนคิด และตอบคำถามของตนเองว่าได้สอนครบถ้วนและถูกต้องแค่ไหน มีการฝึกปฏิบัติสอน การสอนของผู้อื่นทำให้มองเห็นถึงข้อผิดพลาดที่พบบ่อยๆ และนำแนวทางที่ได้มาปรับใช้กับการสอนที่ทำอยู่ในปัจจุบัน และนอกจากนี้ยังมีชั่วโมงที่พูดเกี่ยวกับวิธีสอน และการเรียนซึ่งผู้อบรมไม่เคยเข้าอบรมก่อนทำให้รับความรู้ใหม่ๆ มาปรับใช้เมื่อตนเองต้องเป็นครูจำเป็นเช่นทุกวันนี้

    ผู้บันทึก นางวิภาวี  ศุกรเสพย์         ตำแหน่ง นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ       หน่วยงาน วิสัญญี
*******************************************************************************************

บันทึกการประชุม เรื่อง Exploratory Courses in Medical Education for Rookie Feacher 
วันที่ 29 กรกฎาคม – 2 สิงหาคม  2556             สถานที่ โรงแรมปริ้นพาเลส  กรุงเทพมหานคร

          วันแรกของการอบรม ได้เรียนรู้เกี่ยวกับหัวข้อ Teaching in classroom รับรู้เกี่ยวกับการแสดงออกบทบาทของอาจารย์และผู้เรียน แนวทางของหลักการสอนกว้างๆ จากผู้เชี่ยวชาญ ต่อด้วย Sleill feaching ชมวีดีทัสน์ แสดงการสอนกลุ่มย่อยของนักศึกษาแพทย์ชั้นคลินิก การเข้าถึงเนื้อหาการสอน การกระตุ้นให้ผู้เรียนฝึกค้นคว้าหาความรู้ การซักถามระหว่างกลุ่ม เช่น Buzz group วันที่ 2 (30 กรกฎาคม) ได้เรียนรู้ถึงการวางแผนการสอน การกำหนดวัตถุประสงค์แผนการสอนได้อย่างครอบคลุมตามหลักสูตร และเข้าถึงผู้เรียนและหลักการออกข้อสอบที่เป็นตัวชี้วัดของผู้เรียนทั้งในด้านพฤตพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย การออกข้อสอบตามวัตถุประสงค์ทั้งตัว MCQ MEQ CRQ ASQ วันที่ 3 (31 กรกฎาคม) ได้เรียนรู้ถึงบทบาทของอาจารย์แพทย์ ทั้งในด้านของการสอนบรรยาย การสอนภาคปฏิบัติ ทั้งในเรื่องของหัตถการและการสอนข้างเตียงผู้ป่วยทั้งในหอผู้ป่วยและผู้ป่วยนอก วันที่ 4 (1 สิงหาคม) ได้เรียนรู้ถึงการวิพากวิจารผู้เรียน อย่างถูกต้องและเหมาะสม แนวทางหารสอน Bedsiue teaching ให้เป็นไปตามแนวทางของหลักสูตร และผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจ สามารถนำไปประพฤติปฏิบัติต่อผู้ป่วยในฐานะแพทย์ได้ วันที่ 5 (2 สิงหาคม) ได้ทำ Workshop เรื่อง Work Based and performance assessment โดยการสมมติสถานการณ์ การสอนจริงในห้องเรียน และการออกแบบสื่อการสอนในหัวข้อ Instructional mutenal design

  ผู้บันทึก นายรณกฤต  ลิ้มวรากร      ตำแหน่ง นายแพทย์ปฏิบัติการ   หน่วยงาน องค์การแพทย์ กลุ่มงานอายุรกรรม
*******************************************************************************************
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น