รอ.............................

คิดแล้วทำ สำคัญกว่าทำแล้วคิด

วันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

โภชนาการ


บันทึกการประชุม เรื่อง โภชนาการกับมะเร็ง
วันที่  5 - 6 กันยายน  2556                สถานที่  สถาบันมะเร็งแห่งชาติ

          จากการประชุมทำให้ทราบถึงปัจจัยภายนอก และปัจจัยภายในที่เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็ง causes of cancer การตรวจคัดกรองภาวะทุพโภชนาการสำหรับผู้ป่วยมะเร็งว่าการ screening ต่างจาก assessment อย่างไร และการจัดตั้งทีมโภชนาบำบัด NST ที่ประกอบดัวย แพทย์ พยาบาล Dietitian Pharmacist นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งในการร่วมตรวจประเมินการติดตามการดูแลผู้ป่วยในระหว่าง admit ในส่วนของบทบาทนักกำหนดอาหารในการจัดการอาหารผู้ป่วยมะเร็ง ทำให้ทราบว่าอาหารในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งแบ่งเป็น
1.       Pt ที่กินไม่ได้ need Hight Protein เพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกัน
2.       Pt ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ กลุ่มที่มีเม็ดเลือดขาวต่ำ ต้องการ Neutropenio Diet
3.       Pt สามารถกินได้ เพิ่มพวกผัก ผลไม้ 5 สี ปลาที่มีโอเมก้า 3

การเลือกแหล่งอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระพวก    B แคโรทิน โพโตเอสโตเจน วิตามินซี อี selenium ว่าพบในอาหารผัก หรือผลไม้ ชนิดใดบ้าง ศึกษาจากแผ่นพับที่ได้รับในส่วนของการทำอย่างไรให้ห่างไกลมะเร็ง 5 ทำ 5 ไม่ ห่างไกลมะเร็ง

     ผู้บันทึก นายกัมปนาถ  แสนสุข       ตำแหน่ง นักโภชนาการ       หน่วยงาน โภชนศาสตร์
*************************************************************************************

องค์กรแพทย์


บันทึกการประชุม เรื่อง ข้อผิดพลาดในการสอนช่วยฟื้นคืนชีวิต ครั้งที่ 4
วันที่ 30 กรกฎาคม 2556                    สถานที่ โรงแรมปริ้นพาเลส  กรุงเทพมหานคร

          เนื่องจากการฝึกอบรมการช่วยฟื้นคืนชีวิต CPR สำหรับบุคลากรของโรงพยาบาลเป็นประจำเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อประสิทธิภาพการช่วยฟื้นคืนชีวิตผู้ป่วย และเป็นมาตรฐานคุณภาพของโรงพยาบาล โรงพยาบาลต่างๆ จึงจำเป็นต้องมีทีม CPR ของโรงพยาบาลเอง เพื่อให้การสอนและฝึกอบรม CPR แก่บุคลากรเป็นไปอย่างครบถ้วน การพัฒนาทีมจึงเป็นสิ่งจำเป็น จึงไปเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ เพื่อเรียนรู้และรับทราบข้อผิดพลาดในการสอน CPR เรียนรู้และฝึกทักษะที่ถูกต้อง และพัฒนาการสอนของตนเองให้ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

          จากการเข้าอบรม มีการตั้งคำถามเพื่อให้ผู้เรียนคิด และตอบคำถามของตนเองว่าได้สอนครบถ้วนและถูกต้องแค่ไหน มีการฝึกปฏิบัติสอน การสอนของผู้อื่นทำให้มองเห็นถึงข้อผิดพลาดที่พบบ่อยๆ และนำแนวทางที่ได้มาปรับใช้กับการสอนที่ทำอยู่ในปัจจุบัน และนอกจากนี้ยังมีชั่วโมงที่พูดเกี่ยวกับวิธีสอน และการเรียนซึ่งผู้อบรมไม่เคยเข้าอบรมก่อนทำให้รับความรู้ใหม่ๆ มาปรับใช้เมื่อตนเองต้องเป็นครูจำเป็นเช่นทุกวันนี้

    ผู้บันทึก นางวิภาวี  ศุกรเสพย์         ตำแหน่ง นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ       หน่วยงาน วิสัญญี
*******************************************************************************************

บันทึกการประชุม เรื่อง Exploratory Courses in Medical Education for Rookie Feacher 
วันที่ 29 กรกฎาคม – 2 สิงหาคม  2556             สถานที่ โรงแรมปริ้นพาเลส  กรุงเทพมหานคร

          วันแรกของการอบรม ได้เรียนรู้เกี่ยวกับหัวข้อ Teaching in classroom รับรู้เกี่ยวกับการแสดงออกบทบาทของอาจารย์และผู้เรียน แนวทางของหลักการสอนกว้างๆ จากผู้เชี่ยวชาญ ต่อด้วย Sleill feaching ชมวีดีทัสน์ แสดงการสอนกลุ่มย่อยของนักศึกษาแพทย์ชั้นคลินิก การเข้าถึงเนื้อหาการสอน การกระตุ้นให้ผู้เรียนฝึกค้นคว้าหาความรู้ การซักถามระหว่างกลุ่ม เช่น Buzz group วันที่ 2 (30 กรกฎาคม) ได้เรียนรู้ถึงการวางแผนการสอน การกำหนดวัตถุประสงค์แผนการสอนได้อย่างครอบคลุมตามหลักสูตร และเข้าถึงผู้เรียนและหลักการออกข้อสอบที่เป็นตัวชี้วัดของผู้เรียนทั้งในด้านพฤตพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย การออกข้อสอบตามวัตถุประสงค์ทั้งตัว MCQ MEQ CRQ ASQ วันที่ 3 (31 กรกฎาคม) ได้เรียนรู้ถึงบทบาทของอาจารย์แพทย์ ทั้งในด้านของการสอนบรรยาย การสอนภาคปฏิบัติ ทั้งในเรื่องของหัตถการและการสอนข้างเตียงผู้ป่วยทั้งในหอผู้ป่วยและผู้ป่วยนอก วันที่ 4 (1 สิงหาคม) ได้เรียนรู้ถึงการวิพากวิจารผู้เรียน อย่างถูกต้องและเหมาะสม แนวทางหารสอน Bedsiue teaching ให้เป็นไปตามแนวทางของหลักสูตร และผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจ สามารถนำไปประพฤติปฏิบัติต่อผู้ป่วยในฐานะแพทย์ได้ วันที่ 5 (2 สิงหาคม) ได้ทำ Workshop เรื่อง Work Based and performance assessment โดยการสมมติสถานการณ์ การสอนจริงในห้องเรียน และการออกแบบสื่อการสอนในหัวข้อ Instructional mutenal design

  ผู้บันทึก นายรณกฤต  ลิ้มวรากร      ตำแหน่ง นายแพทย์ปฏิบัติการ   หน่วยงาน องค์การแพทย์ กลุ่มงานอายุรกรรม
*******************************************************************************************
 
 

ระบบคุณภาพ


บันทึกการประชุม เรื่อง ระบบบริหารความเสี่ยงในโรงพยาบาลคุณภาพ
วันที่  14 - 16 สิงหาคม  2556             สถานที่  โรงแรมนารายณ์ กรุงเทพมหานคร

          การประชุมความเสี่ยงได้ให้ความสำคัญกับหัวใจของมาตรฐานแต่ละหมวด
มาตรฐานที่ 1  การประสานระบบเราต้องให้ความสำคัญกับนโยบาย ระบบสารสนเทศและให้ความสำคัญกับการผลักดันให้มีวัฒนธรรมความปลอดภัยเชื่อมโยงทุกระบบ
มาตรฐานที่ 2  ความสามารถในการค้นหา เน้นที่ความครอบคลุมของปัญหาและการจัดลำดับความสำคัญ เพื่อจะได้นำปัญหาที่รุ่นแรงมาแก้ไขปัญหาก่อน
มาตรฐานที่ 3  การกำหนดมาตรฐานการป้องกัน เน้นการวางมาตรฐานการป้องกันโดยใช้แนวคิด HFE ที่คนหน้างานทำได้ ใช้การตัดสินในปัญหา เฉพาะหน้าให้น้อยที่สุด
มาตรฐานที่ 4  ระบบรายงานอุบัติการณ์ เน้นการวางระบบให้มีระบบรายงายอุบัติการณ์ให้สะดวก ง่ายต่อการรวบรวมข้อมูล เพื่อนำข้อมูลนั้นมาวิเคราะห์เนื้อหาแนวทางการแก้ไขต่อไป
มาตรฐานที่ 5 การวิเคราะห์สาเหตุ เน้นการวิเคราะห์สาเหตุที่เป็นรากเหง้าปัญหาจริงๆ และถ้าจะให้ดี ถ้ามีการวิเคราะห์สาเหตุ เพื่อการป้องกันไว้ล่วงหน้า
มาตรฐานที่ 6  การวิเคราะห์ระบบ ควรวิเคราะห์ระบบที่วางไว้ในแต่ละระบบและอาจดูในส่วนของผลการดำเนินงานในภาพรวมด้วย
   ผู้บันทึก นางสายใจ  นกหนู       ตำแหน่ง นักกายภาพบำบัดชำนาญการพิเศษ      หน่วยงาน กายภาพบำบัด
*************************************************************************************************

งานบริหารจัดการ


บันทึกการประชุม เรื่อง การจัดการมูลฝอยติดเชื้อในสถานบริการสาธารณสุขในเขตภาคใต้
วันที่ 3 กันยายน  2556            สถานที่ ศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา

1.       ผู้ปฏิบัติงานที่ทำหน้าที่เคลื่อนย้าย และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อต้องได้รับการอบรมหลักสูตรการป้องกันและระงับการแพร่เชื้อ
2.       การเก็บมูลฝอยติดเชื้อประเภทวัสดุมีคม มีลักษณะเป็นกล่องหรือถัง ที่ทำด้วยวัสดุแข็งแรงทนทานต่อการแทงทะลุและการกัดกร่อนของสารเคมี
3.       ภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อประเภทวัสดุไม่มีคม มีลักษณะถุงแดงทึบแสงทำจากพลาสติก ที่มีความเหนียวไม่ฉีกขาดง่าย รับน้ำหนักกันน้ำได้ ไม่รั่วซึม และไม่ดูดซึม
4.       ภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ มีข้อความสีดำขนาดที่สามารถอ่านได้ชัดเจนโดยเขียนข้อความมูลฝอยติดเชื้อห้ามเปิด ห้ามนำกลับมาใช้อีก และรูปหัวกะโหลกโชว์ คู่กับตราสัญลักษณ์ที่ใช้ระหว่างประเทศดังภาพพิมพ์ไว้บนภาชนะ
5.       การกำจัดมูลฝอยติดเชื้อโดยเผาในเตาเผาชนิด 2 ห้องเผาที่สามารถควบคุมอุณหภูมิในห้องเผามูลฝอย และห้องเผาควันให้อยู่ไม่ต่ำกว่า 760 และ 1000 องศา

 ผู้บันทึก นางสาวสุทธิรัตน์  เทพกำเนิด      ตำแหน่ง เจ้าพนักงานธุรการหน่วยงาน กลุ่มงานบริหารทั่วไป
*******************************************************************************************งานบริหารจัดการ

เทคโนโลยีสารสนเทศ


บันทึกการประชุม เรื่อง สรุปผลการดำเนินการพัฒนาและปรับปรุงระบบบริหาร

วันที่  16 สิงหาคม  2556                    สถานที่  โรงแรมเอเชีย กรุงเทพมหานคร

          การประชุมครั้งนี้เกี่ยวกับโปรแกรมของกระทรวงสาธารณสุข เป็นโปรแกรมเกี่ยวกับระบบนัดหมายออนไลน์ และโปรแกรมจับเวลาเพื่อดูระยะเวลาที่คนไข้เสียไปในการตรวจรักษา มีชื่อว่า ระบบ APS online เนื่องด้วยทางกระทรวงสาธารณสุขเห็นถึงปัญหาความแออัดในโรงพยาบาลและการที่ประชาชนต้องคอยมารับบัตรนัดเพื่อเข้าตรวจรักษาโรคตั้งแต่โรงพยาบาลยังไม่เปิดทำการ จึงทำให้เกิดระบบนี้ขึ้น นอกจากนี้ กระทรวงสาธารณสุขยังมีนโยบายปรับปรุงระบบบริการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยการเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้แสดงความคิดเห็นและบอกเล่าถึงปัญหาที่พบภายในหน่วยงานของตนเอง และทางกระทรวงยังมีนโยบายจะปรับปรุงระบบบริการโดยให้มีเทคโนโลยีสารสนเทศบน web Application โดยมีฐานข้อมูลอยู่ที่กระทรวงสาธารณสุข เพื่อง่ายต่อการที่กระทรวงได้เห็นความเคลื่อนไหวของข้อมูลของหน่วยงานทั่วประเทศ
     ผู้บันทึก นางสาวมารีสา  ศาสน์สันติกุล        ตำแหน่ง นักวิชาการคอมพิวเตอร์       หน่วยงาน IT
*****************************************************************

วันเสาร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

การเงิน


บันทึกการประชุม เรื่อง โครงการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารการเงินการคลัง เครือข่ายบริการที่ 12
วันที่ 28 – 29  พฤษภาคม  2556           สถานที่ โรงแรมลีการ์เด้น พลาซ่า สงขลา

          คณะตรวจราชการและนิเทศงาน เครือข่ายบริการที่ 12 ชี้แจงแนวทางการควบคุม กำกับ ติดตาม ประสิทธิภาพการบริหารการเงินการคลังในระดับเขต พบว่าในปีงบประมาณ 2555 มีโรงพยาบาลที่ประสบปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงินอยู่ในภาวะวิกฤตระดับ 7 ดังนั้นการรับทราบข้อมูลการเงินการคลัง ต้นทุนค่าใช้จ่าย ต้นทุนให้บริการ และการจัดทำแผน 3 แผน สรุปได้ดังนี้ แผนรายรับรายจ่ายเงินบำรุง แผนจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ แผนการจัดหางบลงทุน ซึ่งจากการตรวจสอบผลการส่งรายงานผ่านเว็บต้นทุนของกลุ่มงานประกันสถานการส่งรายงานแผน 3 แผนยังไม่ครบถ้วน และยังมีโรงพยาบาลที่วิกฤตเรื้อรัง และโรงพยาบาลที่วิกฤตในไตรมาส 3/2555 ในเครือข่ายบริการที่ 12

          การบริหารการเงินการคลังเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้โรงพยาบาลประสบสภาวะวิกฤตได้ ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญในการบริหารการเงินภายในโรงพยาบาล เพื่อให้สถานะทางการเงินของโรงพยาบาลมีเสถียรภาพ ตัวชี้วัดสำคัญการบริหารการเงินการคลัง มี 3 ระดับ คือ ตัวชี้วัดระดับกระทรวง ตัวชี้วัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ตัวชี้วัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ตัวชี้วัด FAI ของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ผลการประเมินระดับความสำเร็จการบริหารการเงินการคลัง FAI ไตรมาส 2/2556 ของเครือข่ายที่ 12 คะแนนเฉลี่ย 81.12 (1 จังหวัด)

          การพัฒนาประสิทธิภาพทางการบริหารการเงินการคลัง มีเป้าหมายเพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ สร้างประสิทธิภาพในการบริหาร และความมั่นคงของหน่วยบริการสุขภาพ การควบคุม กำกับแผน 3 แผน แผนรายรับรายจ่ายเงินบำรุง ไม่ตั้งแผนขาดดุล มีการควบคุม กำกับ ติดตามทั้งด้านรายรับรายจ่าย เป็นรายไตรมาส/รายเดือน แผนการจัดซื้อยาเวชภัณฑ์ ลดค่าใช้จ่ายด้านยา เวชภัณฑ์ ลงไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 แผนการจัดงบลงทุน ประเมินความคุ้มค่าในการลงทุน

          คณะผู้ตรวจแจ้ง จะเข้าตรวจให้เตรียมข้อมูลและแบบประเมินตนเองของหน่วยงานบริการเพื่อรองรับการตรวจราชการและนิเทศงานกรณีปกติ รอบที่ 2/2556 ทำให้มีความเข้าใจและสามารถ ควบคุม กำกับ ติดตาม ประสิทธิภาพการบริหารการเงินการคลัง ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน รับรู้ข้อมูลการเงินการคลัง

  ผู้บันทึก นางสาวเบญจมาศ   คุณสุทธิ์     ตำแหน่ง นักวิชาการเงินและบัญชี      หน่วยงาน ฝ่ายการเงินและบัญชี
*******************************************************************************************
 
บันทึกการประชุม เรื่อง โครงการจ่ายตรง เงินเดือนและค่าจ้างประจำ
วันที่ 2 – 6 กันยายน  2556                สถานที่ มหาวิทยาลัยเทคโนดลยีราชมงคลศรีวิชัย

          โครงการจ่ายตรงเงินเดือนและค่าจ้างประจำ เป็นข้อตกลงที่กระทรวงสาธารณสุขได้ทำกับกรมบัญชีกลาง โดยจะเริ่มทำในวันที่ 1 มกราคม 2557 สาระสำคัญที่อบรมเป็นการสอนการบันทึกข้อมูลของงานบุคลากรการพัฒนาต่างๆ และจะต้องจัดส่งข้อมูลต่างๆ ให้กรมบัญชีกลางภายในวันที่ 12 ของทุกเดือน เมื่อการดำเนินการเป็นไปตามข้อตกลงข้าราชการและลูกจ้างประจำจะได้รับเงิน 3 วันทำการก่อนสิ้นเดือน

          ส่วนการดำเนินการของแผนกการเงิน และงานบุคลากรจะมีการวางแผนในการจัดส่งข้อมูลโดยกำหนดวัน และใครเป็นผู้รับผิดชอบในเรื่องอะไร จะได้จัดทำคำสั่งต่อไป

 ผู้บันทึก นายสุนทร  มลิพันธ์    ตำแหน่ง เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีชำนาญการ  หน่วยงาน ฝ่ายการเงินและบัญชี
*****************************************************************************************

วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

เภสัชกรรม

บันทึกการประชุม เรื่อง การบริหารยาเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย
วันที่ 1 – 2 สิงหาคม 2556        สถานที่ ห้องประชุมตะกั่วป่า โรงแรมหรรษา เจ บี หาดใหญ่
          การวางระบบเป็นสิ่งสำคัญของหน่วยงานต่างๆ ระบบที่ดีจะนำไปสู่การทำงานที่รวดเร็ว ปลอดภัย ในที่นี้กล่าวถึงระบบยา คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัดมีบทบาทในการกำหนดแนวทางต่างๆ โดยมีระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศเป็นตัวช่วย ยกตัวอย่างให้มองเห็นภาพว่า เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยไม่ได้อยู่ที่วิชาชีพอย่างเดียวแต่ต้องอาศัยสหวิชาชีพ แสดงตัวอย่างให้เห็นถึงความคลาดเคลื่อนทางยา และการป้องกันการเกิดความคลาดเคลื่อนในการใช้ยาและการเขียนคำสั่งใช้ยาที่ดี เน้นเรื่องความเข้าใจตรงกันไม่ได้และความคงตัวหลังผสม เภสัชกรจะต้องเข้ามามีบทบาทเพื่อประกันความคลาดเคลื่อนในหัวข้อนี้ นอกจากนี้การคำนวณอัตราเร็วของยาฉีด /หยดยาฉีดต่อผู้ป่วยก็มีผลต่อการเกิด Admintration error เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ Adverse Drug Event ก็มีความสำคัญ และเภสัชกรมีส่วนในการช่วยวางระบบเพื่อป้องกันการเกิดการแพ้ยาซ้ำได้ นอกจากนี้การนำ Trigger tool มาใช้ประโยชน์ในการค้นหา ADE ก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน
          สรุปรวมแล้วทุกๆ หน่วยงานย่อมมีโอกาสทำงานได้ผิดพลาด แต่เมื่อเข้าใจความผิดพลาดได้จากการจดบันทึกหลังนำมาวิเคราะห์ สรุป หาทางแก้ไข ไม่ให้เกิดอีก ก็จะเกิดความปลอดภัย แก่ผู้ป่วยได้
              ผู้บันทึก นางสาวชื่นสุมน  ลาภชิตาภรณ์ ตำแหน่ง เภสัชกรปฏิบัติการ  หน่วยงาน เภสัชกรรม
************************************************************************************************************************

บันทึกการประชุม เรื่อง เภสัชบำบัดในผู้ป่วยโรคไต (Pharmacotherapy of Kidney Disease)

วันที่ 22 – 23 สิงหาคม 2556     สถานที่ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

          ไตเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญโดยมีมีหน้าที่หลักในการขับของเสียและสารพิษ การควบคุมปริมาตรของของเหลวในร่างกาย และการควบคุมความดันโลหิต การควบคุมความเข้มข้นของสารและธาตุต่างๆ ในร่างกาย บทบาทที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมน ดังนั้นหากไตมีความผิดปกติไปจึงส่งผลต่ออวัยวะต่างๆ ของร่างกายด้วย โดยการคำนวณอัตราการกรองของผนังโกลเมอรุรัส ใช้เป็นตัววัดความสามารถในการกรองของไต แต่ในปัจจุบันนิยมคำนวณอัตราการกำจัดของ creatinine Crcl ซึ่งใช้ความเข้มข้นของ creatinine ในเลือดเพื่อใช้เป็นค่าแทน GFR ภาวะไตสูญเสียการทำงานอย่างต่อเนื่องจนกระทั้งถึงจุดที่ไตทำงานล้มเหลว (Acute Kidney injury AKI) เป็นการทำงานของไตลดลงอย่างรวดเร็ว (ภายใน 48 ชม) ก่อนรักษาต้องหาสาเหตุของภาวะ AKI ซึ่งอาจมีผลมาจากยาจึงต้องทำการปรับขนาดและความถี่ในการให้ยาตาม Stage ความรุนแรงของ AKI และหลีกเลี่ยงการใช้ยาที่เป็น Drug-induced nephrotcxicty และป้องกันการเกิด Chonic Kidney disease ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ไตเรื้อรัง คือ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือดหัวใจ ในผู้ป่วนไตเรื้อรัง ดังนั้นการจัดการภาวะน้ำตาลในเลือดสูง และความดันโลหิตสูงจึงเป็นสิ่งสำคัญ คือ BP<130/80 mmHg ทั้ง Pt ที่มีอัลบุมินออกมามากหรือน้อยในปัสสาวะ (KDIGO guidelines) และ HBA1c ประมาณ 7.0% การกำหนดให้มีค่า HbA1c น้อยกว่า 7.0% อาจเป็นผลเสีย เนื่องจากผู้ป่วยมีโอกาสเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้สูงกว่าคนไข้เบาหวานทั่วไป ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังยังมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ภาวะโลหิตจาง ความผิดปกติของสมดุลแคลเซียม ฟอสฟอรัส ความผิดปกติของกระดูก และภาวะความไม่สมดุลของเกลือแร่ต่างๆ ในร่างกาย
       ผู้บันทึก นางสาวชนกสุดา  เหลือมปุ๋ย        ตำแหน่ง เภสัชกรปฏิบัติการ        หน่วยงาน เภสัชกรรม
********************************************************************************************

บันทึกการประชุม เรื่อง การให้คำปรึกษาระบบยา ครั้งที่ 2/2556
วันที่ 11 – 13 กันยายน 2556    สถานที่ โรงแรมวินเซอร์ สวีทส์ กรุงเทพมหานคร
          ระบบยาเป็นงานของสหสาขาวิชาชีพ ซึ่งมีเภสัชกรเป็นเจ้าภาพใหญ่ ดังนั้นเภสัชกรจะต้องประสานงานเก่ง ซึ่งการตั้งเป้าหมายเพื่อพัฒนางานที่อิงตามมาตรฐานจะต้องรู้จักตัวเอง รู้ความต้องการสำคัญของลูกค้า และรู้เป้าหมายของมาตรฐาน เมื่อมีการวางระบบงานต่างๆ สิ่งที่ผู้เยี่ยมสำรวจพบ มักจะไม่ได้ติดตามดูว่าผู้ปฏิบัติงานได้ทำตามระบบที่วางไว้หรือไม่ ถ้าไม่ปัญหาอยู่ที่ตรงไหน อย่าโทษแต่เพียงว่าผู้ปฏิบัติงานไม่ตระหนัก ไม่ปฏิบัติตามระบบที่วางไว้ และอีกหนึ่งหลุมพรางคือ ขาดความเชื่อมโยงของข้อมูล เช่น ปัญหาที่พบในการให้คำแนะนำปรึกษาด้านยาของเภสัชกร ไม่ได้นำมาบันทึกอยู่ในระบบความคลาดเคลื่อนทางยา ทำให้รายงานต่ำกว่าความเป็นจริง และอาจจะทำให้ไม่ได้แก้ปัญหาร่วมกันในเชิงระบบหลายๆ ครั้ง หลายๆ โรงพยาบาล เภสัชกรทำงานเก็บข้อมูลแต่ไม่ได้นำข้อมูลมาเสนอต่อสหวิชาชีพ เพื่อให้ร่วมช่วยแก้ปัญหา
            ผู้บันทึก นางอุมาภรณ์  สีสวนแก้ว       ตำแหน่ง เภสัชกรชำนาญการ        หน่วยงาน เภสัชกรรม
***********************************************************************