รอ.............................

คิดแล้วทำ สำคัญกว่าทำแล้วคิด

วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

เภสัชกรรม

บันทึกการประชุม เรื่อง การบริหารยาเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย
วันที่ 1 – 2 สิงหาคม 2556        สถานที่ ห้องประชุมตะกั่วป่า โรงแรมหรรษา เจ บี หาดใหญ่
          การวางระบบเป็นสิ่งสำคัญของหน่วยงานต่างๆ ระบบที่ดีจะนำไปสู่การทำงานที่รวดเร็ว ปลอดภัย ในที่นี้กล่าวถึงระบบยา คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัดมีบทบาทในการกำหนดแนวทางต่างๆ โดยมีระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศเป็นตัวช่วย ยกตัวอย่างให้มองเห็นภาพว่า เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยไม่ได้อยู่ที่วิชาชีพอย่างเดียวแต่ต้องอาศัยสหวิชาชีพ แสดงตัวอย่างให้เห็นถึงความคลาดเคลื่อนทางยา และการป้องกันการเกิดความคลาดเคลื่อนในการใช้ยาและการเขียนคำสั่งใช้ยาที่ดี เน้นเรื่องความเข้าใจตรงกันไม่ได้และความคงตัวหลังผสม เภสัชกรจะต้องเข้ามามีบทบาทเพื่อประกันความคลาดเคลื่อนในหัวข้อนี้ นอกจากนี้การคำนวณอัตราเร็วของยาฉีด /หยดยาฉีดต่อผู้ป่วยก็มีผลต่อการเกิด Admintration error เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ Adverse Drug Event ก็มีความสำคัญ และเภสัชกรมีส่วนในการช่วยวางระบบเพื่อป้องกันการเกิดการแพ้ยาซ้ำได้ นอกจากนี้การนำ Trigger tool มาใช้ประโยชน์ในการค้นหา ADE ก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน
          สรุปรวมแล้วทุกๆ หน่วยงานย่อมมีโอกาสทำงานได้ผิดพลาด แต่เมื่อเข้าใจความผิดพลาดได้จากการจดบันทึกหลังนำมาวิเคราะห์ สรุป หาทางแก้ไข ไม่ให้เกิดอีก ก็จะเกิดความปลอดภัย แก่ผู้ป่วยได้
              ผู้บันทึก นางสาวชื่นสุมน  ลาภชิตาภรณ์ ตำแหน่ง เภสัชกรปฏิบัติการ  หน่วยงาน เภสัชกรรม
************************************************************************************************************************

บันทึกการประชุม เรื่อง เภสัชบำบัดในผู้ป่วยโรคไต (Pharmacotherapy of Kidney Disease)

วันที่ 22 – 23 สิงหาคม 2556     สถานที่ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

          ไตเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญโดยมีมีหน้าที่หลักในการขับของเสียและสารพิษ การควบคุมปริมาตรของของเหลวในร่างกาย และการควบคุมความดันโลหิต การควบคุมความเข้มข้นของสารและธาตุต่างๆ ในร่างกาย บทบาทที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมน ดังนั้นหากไตมีความผิดปกติไปจึงส่งผลต่ออวัยวะต่างๆ ของร่างกายด้วย โดยการคำนวณอัตราการกรองของผนังโกลเมอรุรัส ใช้เป็นตัววัดความสามารถในการกรองของไต แต่ในปัจจุบันนิยมคำนวณอัตราการกำจัดของ creatinine Crcl ซึ่งใช้ความเข้มข้นของ creatinine ในเลือดเพื่อใช้เป็นค่าแทน GFR ภาวะไตสูญเสียการทำงานอย่างต่อเนื่องจนกระทั้งถึงจุดที่ไตทำงานล้มเหลว (Acute Kidney injury AKI) เป็นการทำงานของไตลดลงอย่างรวดเร็ว (ภายใน 48 ชม) ก่อนรักษาต้องหาสาเหตุของภาวะ AKI ซึ่งอาจมีผลมาจากยาจึงต้องทำการปรับขนาดและความถี่ในการให้ยาตาม Stage ความรุนแรงของ AKI และหลีกเลี่ยงการใช้ยาที่เป็น Drug-induced nephrotcxicty และป้องกันการเกิด Chonic Kidney disease ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ไตเรื้อรัง คือ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือดหัวใจ ในผู้ป่วนไตเรื้อรัง ดังนั้นการจัดการภาวะน้ำตาลในเลือดสูง และความดันโลหิตสูงจึงเป็นสิ่งสำคัญ คือ BP<130/80 mmHg ทั้ง Pt ที่มีอัลบุมินออกมามากหรือน้อยในปัสสาวะ (KDIGO guidelines) และ HBA1c ประมาณ 7.0% การกำหนดให้มีค่า HbA1c น้อยกว่า 7.0% อาจเป็นผลเสีย เนื่องจากผู้ป่วยมีโอกาสเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้สูงกว่าคนไข้เบาหวานทั่วไป ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังยังมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ภาวะโลหิตจาง ความผิดปกติของสมดุลแคลเซียม ฟอสฟอรัส ความผิดปกติของกระดูก และภาวะความไม่สมดุลของเกลือแร่ต่างๆ ในร่างกาย
       ผู้บันทึก นางสาวชนกสุดา  เหลือมปุ๋ย        ตำแหน่ง เภสัชกรปฏิบัติการ        หน่วยงาน เภสัชกรรม
********************************************************************************************

บันทึกการประชุม เรื่อง การให้คำปรึกษาระบบยา ครั้งที่ 2/2556
วันที่ 11 – 13 กันยายน 2556    สถานที่ โรงแรมวินเซอร์ สวีทส์ กรุงเทพมหานคร
          ระบบยาเป็นงานของสหสาขาวิชาชีพ ซึ่งมีเภสัชกรเป็นเจ้าภาพใหญ่ ดังนั้นเภสัชกรจะต้องประสานงานเก่ง ซึ่งการตั้งเป้าหมายเพื่อพัฒนางานที่อิงตามมาตรฐานจะต้องรู้จักตัวเอง รู้ความต้องการสำคัญของลูกค้า และรู้เป้าหมายของมาตรฐาน เมื่อมีการวางระบบงานต่างๆ สิ่งที่ผู้เยี่ยมสำรวจพบ มักจะไม่ได้ติดตามดูว่าผู้ปฏิบัติงานได้ทำตามระบบที่วางไว้หรือไม่ ถ้าไม่ปัญหาอยู่ที่ตรงไหน อย่าโทษแต่เพียงว่าผู้ปฏิบัติงานไม่ตระหนัก ไม่ปฏิบัติตามระบบที่วางไว้ และอีกหนึ่งหลุมพรางคือ ขาดความเชื่อมโยงของข้อมูล เช่น ปัญหาที่พบในการให้คำแนะนำปรึกษาด้านยาของเภสัชกร ไม่ได้นำมาบันทึกอยู่ในระบบความคลาดเคลื่อนทางยา ทำให้รายงานต่ำกว่าความเป็นจริง และอาจจะทำให้ไม่ได้แก้ปัญหาร่วมกันในเชิงระบบหลายๆ ครั้ง หลายๆ โรงพยาบาล เภสัชกรทำงานเก็บข้อมูลแต่ไม่ได้นำข้อมูลมาเสนอต่อสหวิชาชีพ เพื่อให้ร่วมช่วยแก้ปัญหา
            ผู้บันทึก นางอุมาภรณ์  สีสวนแก้ว       ตำแหน่ง เภสัชกรชำนาญการ        หน่วยงาน เภสัชกรรม
***********************************************************************

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น