รอ.............................

คิดแล้วทำ สำคัญกว่าทำแล้วคิด

วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

การพยาบาล





บันทึกการประชุม เรื่อง การประชุมวิชาการสูติ-นรีเวช ส่วนภูมิภาค ครั้งที่ 4
วันที่
 11 - 12 กรกฎาคม  2556            สถานที่  โรงแรมบีพีแกรนด์ ทาวเวอร์ หาดใหญ่ สงขลา


          จัดประชุมโดยราชวิทยาลัยสูติแพทย์แห่งประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มพูนทักษะ ความรู้ และทักษะงานด้านอนามัยแม่และเด็ก ได้รับความรู้ทั้งด้านวิชาการการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทำให้ทราบอันตรายและสาเหตุการตายของมารดาในเขต 12 ผู้เข้าร่วมประชุมเป็น สูติแพทย์ พยาบาล ในเขต 12 จำนวน 200 คน

          เนื้อหาที่ได้จาการประชุมที่สามารนำมาใช้ในการปฏิบัติงาน คือการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ เช่น ภาวะครรภ์เป็นพิษ อาการของโรคหัวใจในหญิงตั้งครรภ์ การตรวจและซักประวัติตั้งแต่มาฝากครรภ์ และที่สำคัญคือการดูแล Post Partum Hemorrhage ให้ปลอดภัยจากภาวะช็อค ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของมารดาหลังคลอด อาจารย์ได้แนะนำวิธีการป้องกัน คือเริ่มให้ความรู้ในการปฏิบัติตัวแก่มารดาตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ การเฝ้าระวังขณะคลอด วิธีการวัดปริมาณเลือดที่ออกหลังคลอด โดยใช้ถุงปลาสติที่มีสแกล ถ้วยตวง พร้อมทั้งให้ดูวิดีโอ การวัดปริมาณเลือดของต่างประเทศ ไม่ควรกะปริมาณเลือดด้วยตา เพราะอาจผิดพลาด ทำให้เฝ้าระวังไม่พอช่วยเหลือไม่ทัน การบริหารยาหลังคลอด มีความสำคัญมากเพราะถ้าบริหารยาผิดพลาดอาจเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยได้ ประทับใจข้อเสนอแนะจากอาจารย์ ในการรายงานแพทย์ เมื่อเกิด PPH = SBAR

          Situation = เกิดอะไรขึ้น เช่น TBL 500 cc….
          Background = เหตุการณ์ที่นำมาสู่สถานการณ์ปัจจุบัน เช่น ผู้ป่วยหลังคลอด หลัง C/S.. เวลา
          Assessment = สรุปปัญหา  อาการ  V/S

          Recommendation = ข้อเสนอแนะ และควรพูด กรุณามาดูด้วย
การ
Conference Case จากโรงพยาบาลต่างๆ 3 เรื่อง โดยสูติแพทย์น่าสนใจมาก และชื่นชมที่เจ้าของ Case
นำมาเป็นตัวอย่างเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ในการดูแลผู้ป่วยรายอื่นๆ
         
พุทธพจน์ในการปฏิบัติงาน เมื่อรักษาตนคือรักษาผู้อื่น เมื่อรักษาผู้อื่นคือรักษาตน
                                                        
     ผู้บันทึก นางณัฐพร  พลายด้วง      ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ          กลุ่มการพยาบาล **********************************************************************

บันทึกการประชุม เรื่อง ติดตามผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์พัฒนาคุณภาพการพยาบาลมารดาและทารก             เขตพื้นที่เครือข่ายบริการที่ 12
 วันที่  16 กรกฎาคม  2556       สถานที่  โรงแรมหาดใหญ่ สงขลา        
             สืบเนื่องจากแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติในช่วงพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 พ.ศ.2555-2559 และนโยบายของสำนักงานสาธารณสุข เขต 12 ได้มุ่งเน้นการสร้างระบบภูมิคุ้มกันเอดส์และกระทบจากโรค และภัยคุกคามสุขภาพ และนโยบายการเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดระบบบริการรักษาพยาบาลและคุณภาพของการให้บริการสุขภาพ การเพิ่มศักยภาพบริการสุขภาพ กลุ่มมารดา ทารก จึงมีความสำคัญ และจำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากปัญหาสุขภาพของประชาชน กลุ่มมารดา และทารก ยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ ทั้งนี้เพื่อให้กลุ่มมารดา ทารก สามารถเข้าถึงบริการรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพที่ดีที่สุด ตามเกณฑ์มาตรฐานอย่างเท่าเทียมกัน

          ด้วยเหตุนี้ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมให้เกิดการประสานความร่วมมือจากพยาบาลผู้รับผิดชอบงานฝากครรภ์ ห้องคลอด และงานบริการพยาบาลมารดาและทารก ทุกแห่งใน 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง เพื่อคิดค้น สร้างปรับเปลี่ยนเทคโนโลยี พัฒนาคุณภาพ ระบบ และการบริการพยาบาลที่มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับสถานการณ์ของพื้นที่ ครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันภาวะแทรกซ้อน การดูแลช่วยเหลือการคลอด และหลังคลอด ถึงจำหน่าย และการส่งต่อหรือการดูแลต่อเนื่อง สอดคล้องกับนโยบายสำนักงานสาธารณสุข เขต 12 และแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ
          จึงได้ร่วมกันวิเคราะห์ ปัญหา สาเหตุ ความต้องการพัฒนาและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานบริการพยาบาลมารดาและทารก นำมากำหนดระบบ แนวทาง และกลวิธีการดำเนินงานโดยจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการพยาบาลระดับเขต ปี 2557-2559

          ผลที่ได้รับและสามารถนำมาใช้ประโยชน์ นำแผนมาพัฒนาคุณภาพการพยาบาลระดับเขต ปี 2557-2560 ลงสู่งานอนามัยแม่และเด็กระดับจังหวัดเพื่อนำไปปฏิบัติต่อไป
ผู้บันทึก นางรัชนี  เดี่ยวพานิช   ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ    กลุ่มการพยาบาล

*******************************************************************************************

บันทึกการประชุม เรื่อง การดูแลต่อเนื่องสำหรับผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง / บาดเจ็บไขสันหลัง

วันที่  17 19 กรกฎาคม  2556           สถานที่  คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
          จากการเข้าร่วมอบรมดูแลต่อเนื่องผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง/บาดเจ็บไขสันหลัง โดยเนื้อหาการประชุม เน้นการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง เมื่อผู้ป่วยกลับบ้าน แต่ก็ยังเน้นเนื้อหาในการดูแลผู้ป่วยตั้งแต่แรกรับ ได้แก่ การประเมินสภาพผู้ป่วย การรักษาและการให้ความสำคัญในการทำ Dischange planning เพราะผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าว จะมีพยาธิสภาพของโรค ทำให้ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองได้น้อยลงหรือไม่ได้เลย ดังนั้นหากทำการประเมินผู้ป่วยก่อนจะสามรถเตรียมพร้อมก่อนผู้ป่วยกลับบ้าน และในการประชุม จะมีทั้งภาคทฤษฎีในการดูแล-ฟื้นฟูสภาพ  ทั้งการฝึกการนิ่ง นอน การเดิน การเคลื่อนย้ายที่ถูกต้องโดยการแนะนำจากนักกายภาพบำบัด การฝึกการพูด การสวมใส่เสื้อผ้า การรับประทานอาหาร และการดูแลสภาพผู้ป่วยและดูแลเกี่ยวกับจิตใจ จากนักจิตวิทยา ซึ่งการฝึกดังกล่าวจะเน้นให้ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองให้มากที่สุด เพราะจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า และไม่เป็นภาระผู้อื่น

          เนื่องจากสถานที่และผู้อบรมเป็นคณะแพทยศาสตร์ ทำให้มีเจ้าหน้าที่ครบทุกสหวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าว แต่ในการปฏิบัติจริงที่ รพ.นราธิวาสราชนครินทร์ทาง รพ.ยังไม่มีสหวิชาชีพครบทุกด้าน และยังไม่มีการตั้งเป็นสหวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าว ทำให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลฟื้นฟูไม่ครบทุกด้าน ซึ่งทาง รพ.ควรจะจัดตั้งสหวิชาชีพในการดูแลผุ้ป่วยต่อไป

 ผู้บันทึก ธนากร  แชลีมา  ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ กลุ่มการพยาบาล ตึกศัลยกรรมกระดูกชาย
************************************************************************

บันทึกการประชุม เรื่อง โครงการสร้างเครือข่ายสมาชิกสภาการพยาบาลประจำปี 2556
วันที่  25 กรกฎาคม  2556       สถานที่  โรงแรมสมิหลาบีช รีสอร์ท สงขลา
         
           เรื่องที่อบรมเป็นเรื่องเกี่ยวกับกฎหมายน่ารู้สำหรับพยาบาลผู้บรรยาย คือ อัยการนิธิภัททิก์  เสฎฐิตานันท์ และกรณีศึกษาด้านกฎหมายและจริยธรรม ผู้บรรยายคือ อาจารย์ประภัสสร  พงศ์พันธุ์พิศาล ที่ปรึกษาด้านกฎหมายสภาการพยาบาล มีหัวข้อกฎหมายที่น่าสนใจจำนวนมาก แต่ที่จะนำมากล่าวในที่นี้ ขอเลือกเรื่องที่เกิดเหตุในโรงพยาบาลให้เห็นอยู่บ้าง ทั้งนี้เพื่อจะได้เป็นการเตือนสติให้พยาบาลทุกคนมีสติในการปฏิบัติงานแม้ว่าประชาชนทุกคนจะไม่มีความรู้ด้านกฎหมายแต่โลกปัจจุบัน IT สามารถช่วยให้เข้าถึงได้ง่าย โอกาสเสี่ยงของผู้ปฏิบัติงานกับปัญหาการร้องเรียนในเรื่องต่างๆ ไม่ใช่เรื่องยาก กฎหมายที่จะนำมาเล่าให้ทราบเรื่องแรกคือ การปฏิเสธการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ กรณีตัวอย่างผู้ป่วยได้รับอุบัติเหตุอยู่ในภาวะอันตราย ญาติได้นำส่งโรงพยาบาลแห่งหนึ่งซึ่งอยู่ใกล้ที่เกิดเหตุ แต่เนื่องจากโรงพยาบาลแห่งนั้น ไม่มีเตียงว่าง พยาบาลที่อยู่เวรจึงปฏิเสธการช่วยเหลือ กรณีเช่นนี้ย่อมกระทำไม่ได้ พยาบาลปฏิเสธความช่วยเหลือผู้ป่วยเช่นนั้นไม่ได้ และการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 374 ผู้ใดเห็นผู้อื่นตกอยู่ในภยันตรายแห่งชีวิต ซึ่งตนอาจช่วยได้โดยไม่ควรกลัวอันตรายแก่ตนเองหรือผู้อื่น แต่ไม่ช่วยตามความจำเป็น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ปอ.ม307 และ ม.308 ม.307 ผู้ใดมีหน้าที่ตามกฎหมายหรือสัญญาต้องดูแลผู้พึ่งตนเองมิได้เพราะอายุ ความเจ็บป่วย กายพิการ หรือจิตพิการ ทอดทิ้งผู้พึ่งตนเองมิได้นั้นเสียโดยประการที่น่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปีหรือปรับไม่เกิน 6000 บาท ปรือทั้งจำทั้งปรับ ม.308 ถ้ากระทำตาม ม.306 หรือ ม.307 เป็นเหตุให้ผู้ถูกทอดทิ้งถึงแก่ความตาย หรือรับอันตรายสาหัสต้องระวางโทษตาม ม.209 ม.297 หรือ ม.298 กรณีตัวอย่าง
-          ผู้ป่วยหลบหนีจากโรงพยาบาลแล้วเกิดอันตรายขึ้นกับผู้ป่วยขณะหลบหนี
-          การละทิ้งเวรยามของพยาบาล
-          การขาดการเอาใจใส่ดูแลผู้ป่วยตามหน้าที่ 

  ผู้บันทึก นางวันเพ็ญ  แก้วพรหมลัด  ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ   หน่วยงาน กลุ่มการพยาบาล
********************************************************************************************

บันทึกการประชุม เรื่อง การพยาบาลผู้ใหญ่โรคระบบหายใจ
วันที่  17 สิงหาคม  2556                    สถานที่  สถาบันโรคทรวงอก

           ในการให้การรักษาพยาบาลสิ่งแรกที่ควรทำเป็นอันดับแรก คือการประเมินผู้ป่วยตั้งแต่แรกรับ สิ่งที่ผู้ป่วยต้องการ ตลอดระยะเวลาผู้ป่วยได้รับการรักษาในโรงพยาบาลระหว่างนั้นควรทำการวางแผนจำหน่ายและเตรียมความพร้อมแก่ผู้ป่วยก่อนกลับบ้าน เพื่อผู้ป่วยจะได้ดูแลตนเองอย่างถูกต้องทั้งเพื่อลดจำนวนวันนอน ลดอัตราการครองเตียง และลดค่าใช้จ่ายในส่วนของกระบวนการดูแลผู้ป่วยต้องเป็นดูแลแลมีส่วนร่วมระหว่างสหวิชาชีพต่างๆ
          การตรวจร่างกายผู้ป่วยเพื่อวินิจฉัยโรคนั้นจำเป็นต้องมี 5 อย่าง
1.       การซักประวัติ
2.       การตรวจรักษา
3.       EKG
4.       Lab test
การตรวจร่างกายระบบทรวงอกต้องเริ่มตั้งแต่ดู คลำ เคาะ ฟัง ส่วนหัวใจจะดู คลำ ฟัง จะไม่นิยมเคาะ เพื่อหาขอบเขตของหัวใจ แต่จะใช้การเอกเรย์แทน การตรวจร่างกายผู้ป่วยมีความจำเป็นต่อการรักษา เพื่อจะได้วินิจฉัยโรคได้ถูก และทำการรักษาได้ตรงตามอาหารที่เป็น หรือขณะที่ผู้ป่วย Admit จะทำการตรวจการหายใจ โดยการฟัง ถ้าพบสิ่งผิดปกติจะได้รายงานให้แพทย์ทราบ และทำการรักษาให้ทันท่วงที
                
 ผู้บันทึก นางสาวนาเดีย  บือราเฮง        ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ       RCU กลุ่มการพยาบาล
***************************************************************************
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น